Fishing Convention - C188
ประเทศไทยให้สัตยาบันอนุสัญญาการทำงานในภาคประมง
ประเทศไทยแสดงความมุ่งมั่นที่จะดูแลความเป็นอยู่และสภาพการทำงานที่ยอมรับได้ของแรงงานประมงบนเรือประมงโดยให้สัตยาบันอนุสัญญาว่าด้วยการทำงานในภาคประมง ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศแรกในเอเชียที่ได้ให้สัตยาบันและยังเป็นการส่งสัญญาณไปยังประเทศอื่นๆในภูมิภาค

อนุสัญญาการทำงานในภาคประมงมีข้อกำหนดที่มีผลผูกมัดเกี่ยวกับการทำงานบนเรือประมงที่รวมถึงความปลอดภัยในการประกอบอาชีพและสุขภาพ การดูแลทางการแพทย์ขณะที่ออกทะเลและที่ชายฝั่ง เวลาพักผ่อน ข้อตกลงการทำงานที่เป็นลายลักษณ์อักษรและการประกันสังคม อนุสัญญาฉบับนี้ยังมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้แน่ใจว่าเรือประมงมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับแรงงานประมงบนเรือ
อุตสาหกรรมการประมงพาณิชย์และอาหารทะลไทยมีมูลค่าการส่งออกประมาณ 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารทะเลรายใหญ่รายหนึ่งของโลก ภาคการประมงและการแปรรูปอาหารทะเลของไทยมีการจ้างงานมากกว่า 600,000 คนในปี 2560 โดยเป็นแรงงานข้ามชาติจดทะเบียนจำนวน 302,000 คน ภาคการประมงอย่างเดียวมีการจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติมากกว่า 57,000 คนที่ทำงานบนเรือประมงพาณิชย์ประมาณ 10,550 ลำในปี 2560
อนุสัญญาการทำงานในภาคประมงจะมีผลบังคับใช้ในประเทศไทย ตั้งแต่ 30 มกราคม 2563 หนึ่งปีหลังจากการให้สัตยาบัน
โครงการสิทธิจากเรือสู่ฝั่งของ ไอแอลโอ ซึ่งได้รับทุนจากสหภาพยุโรปจะให้การสนับสนุนรัฐบาลไทย องค์กรนายจ้างและองค์กรลูกจ้างในการยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมประมงพาณิชย์ของไทยต่อไป